๑. ที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ๕๑๑๒๐
เทศบาลตำบลแม่แรง เดิมเป็นสภาตำบลแม่แรง และได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ และประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๒ ง ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ โดยมีผลบังคับตั้งวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เป็นต้นมา
ต่อมาได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลแม่แรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล มีผลตั้งแต่วันลงนามในประกาศ คือ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
คำบรรยายแนวเขต
เทศบาลตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล
ลงวันที่ ๓ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
หลักเขตที่ ๑ ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบลำเหมืองน้ำออกรูหนองเงือก กับลำเหมืองไก่ดำ ซึ่งห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๒ สายป่าซาง – หนองดู่ กิโลเมตรที่ ๔ + ๙๓๐ เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง ๓๕๐ เมตร บริเวณพิกัด MA ๙๐๓๔๗๖
ด้านทิศเหนือ
- จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองไก่ดำ ไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งที่จุดบรรจบลำเหมือง ไก่ดำกับลำเหมืองสีไก่ดำ บริเวณพิกัด MA ๙๐๖๔๗๒ รวมระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร
- จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองสีไก่ดำ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งที่จุดสิ้นสุดลำเหมืองสีไก่ดำ บรรจบกับลำเหมืองดอนขี้แฮด บริเวณพิกัด MA ๙๑๑๔๗๔ รวมระยะทางประมาณ ๗๐๐ เมตร
ด้านทิศตะวันออก
- จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองดอนขี้แฮดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๒ สายป่าซาง – หนองดู่ กิโลเมตรที่ ๒ + ๓๕๐ เมตร และตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองดอนขี้แฮด ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งที่จุดบรรจบลำเหมืองดอนขี้แฮด กับลำเหมืองปู่เต้ง บริเวณพิกัด MA ๙๓๓๔๔๘ รวมระยะทางประมาณ ๔,๒๐๐ เมตร
- จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลแม่แรง กับตำบลม่วงน้อย ไปทางทิศใต้ ตัดผ่านทุ่งนา ตรงไปตัดผ่านถนนสายสะปุ๋ง – บวกบอน กิโลเมตรที่ ๕๘๐ เมตร ตรงไปทางทิศใต้ ตัดผ่านทุ่งนา ตัดผ่านถนนสายสะปุ๋ง – หนองเงือก กิโลเมตรที่ ๑ + ๐๒๐ เมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่จุดบรรจบ ลำเหมืองจ้าย ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ลำเหมืองจ้าย บริเวณพิกัด MA ๙๒๖๔๓๒ รวมระยะทางประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร
ด้านทิศใต้
- จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลแม่แรงกับตำบลมะกอก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดผ่านทุ่งนา ตัดผ่านถนนสายมะกอก – หนองเงือก กิโลเมตรที่ ๒ + ๐๐๐ เมตร เลียบตามแนวรั้วป่าช้าเหนือบ้านหนองเงือก ตัดผ่านทุ่งนา ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตรงไปสิ้นสุดที่จุดบรรจบลำเหมืองสองแคว ถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณลำเหมือง สองแคว บริเวณพิกัด MA ๙๐๔๔๒๗ รวมระยะทางประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร
ด้านทิศตะวันตก
- จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองสองแคว ตัดผ่านทุ่งนาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดผ่านถนนสายหนองเงือก – สารภีชัย กิโลเมตรที่ ๘๐๐ เมตร ตรงไป ตัดผ่าน ทุ่งนา ตัดผ่านถนนสายหนองเงือก – ไร่ดง กิโลเมตรที่ ๑ + ๗๐๐ เมตร ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดผ่านทุ่งนา ตัดผ่านถนน ดอนหลวง – ร่องห้า กิโลเมตรที่ ๕ + ๑๕๐ เมตร ตรงไปตัดผ่านทุ่งนา ถึงหลักเขตที่ ๗ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบลำเหมืองน้ำออกรู หนองเงือก บริเวณพิกัด MA ๘๘๔๕๑ รวมระยะทางประมาณ ๓,๐๐๐ เมตร
- จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองหนองออกรูหนองเงือก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๒ สายป่าซาง – หนองดู่ กิโลเมตรที่ ๔ + ๙๓๐ เมตร ตรงไปสิ้นสุดที่หลักเขตที่ ๑ บริเวณพิกัด MA ๙๐๓๔๗๖ รวมระยะทางประมาณ ๔,๕๐๐ เมตร
ตำบลแม่แรงมีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซาง ๗ กิโลเมตร มีอาณาเขตการติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลป่าซางและตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
เนื้อที่
เนื้อที่ ๑๖.๑๙๑ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๐,๑๑๙ ไร่ ๑ งาน
ภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกและทำการเกษตร
จำนวนหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านกองงาม
หมู่ที่ ๒ บ้านแม่แรง
หมู่ที่ ๓ บ้านต้นผึ้ง
หมู่ที่ ๔ บ้านดอนตอง
หมู่ที่ ๕ บ้านหนองเงือก
หมู่ที่ ๖ บ้านป่าข่า
หมู่ที่ ๗ บ้านดอนหลวง
หมู่ที่ ๘ บ้านป่าเบาะ
หมู่ที่ ๙ บ้านดอนน้อย
หมู่ที่ ๑๐ บ้านป่าบุก
หมู่ที่ ๑๑ บ้านสันกอดู่
จำนวนประชากร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ครัวเรือน /หลังคา |
||
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม |
|||
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๗๗ |
บ้านกองงาม บ้านแม่แรง บ้านต้นผึ้ง บ้านดอนตอง บ้านหนองเงือก บ้านป่าข่า บ้านดอนหลวง บ้านป่าเบาะ บ้านดอนน้อย บ้านป่าบุก บ้านสันกอดู่ ทะเบียนบ้านกลาง |
๔๔๘ ๓๓๑ ๑๙๓ ๔๖๑ ๗๙๗ ๘๘ ๓๘๐ ๓๒๖ ๑๕๖ ๑๓๙ ๑๗๗ ๑๔ |
๔๙๑ ๓๔๖ ๑๙๐ ๔๓๘ ๘๖๕ ๘๖ ๓๙๘ ๓๙๑ ๑๙๐ ๑๖๖ ๑๘๒ ๑๙ |
๙๓๙ ๖๗๗ ๓๘๓ ๘๙๙ ๑,๖๖๒ ๑๗๔ ๗๗๘ ๗๑๗ ๓๔๖ ๓๐๕ ๓๕๙ ๓๓ |
๓๘๔ ๒๗๕ ๑๓๒ ๓๓๙ ๖๑๙ ๖๙ ๓๔๐ ๒๗๒ ๑๔๑ ๑๐๑ ๑๓๖ ๑ |
|
รวม |
๓,๕๑๐ |
๓,๗๖๒ |
๗,๒๗๒ |
๒,๘๐๙ |
ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐
การศึกษา
- สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา มีทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรง หมู่ที่ 1
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองเงือก หมู่ที่ 5
- สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมถึงมัธยมศึกษา มีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านกองงาม หมู่ที่ 1
- โรงเรียนบ้านดอนตอง หมู่ที่ 4
- โรงเรียนวัดป่าบุก หมู่ที่ 10
- โรงเรียนบ้านหนองเงือก หมู่ที่ 5
- โรงเรียนวัดบ้านดอน หมู่ที่ 7
การสาธารณสุข ตําบลแม่แรงมีสถานบริการสาธารณสุขจํานวน 2 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ตําบลแม่แรง หมู่ที่ 8
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ตําบลแม่แรง หมู่ที่ 7
สภาพปัญหาของพื้นที่ที่รับผิดชอบและความต้องการของประชาชน แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
1. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 การคมนาคมขนส่งระหว่างหมู่บ้านไม่สะดวกและมีสภาพคับแคบ ไม่สามารถขยายให้กว้างได้
1.2 ตู้โทรศัพท์สาธารณะไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน
1.3 ไฟฟ้าสาธารณะไม่เพียงพอ
2. ปัญหาการผลิต การตลาด รายได้และการมีงานทํา
2.1 การประกอบอาชีพในหมู่บ้าน
- ปัญหาการขาดความรู้โอกาสในการประกอบอาชีพ
- ปัญหาการขาดการรวมกลุ่มอาชีพ
2.2 ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาการเกษตร
2.3 คุณภาพสินค้ายังไม่ได้มาตรฐาน
3.ปัญหาสาธารณสุข และการอนามัย
3.1 ปัญหาแหล่งข้อมูล ข่าวสารด้านสาธารณสุข และอนามัย
3.2 ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และโรคเอดส์
3.3 ปัญหาการให้บริการสุขภาพของผู้สูงอายุ เด็ก สตรี และคนพิการ ไม่ทั่วถึง
3.4 ปัญหาการแพร่ระบาดและการป้องกันยุงลาย โรคพิษสุนัขบ้า
3.5 ไม่มีการส่งเสริมความรู้ในด้านยาสมุนไพรพื้นบ้าน
4. ปัญหาน้ำกินน้ําใช้ เพื่อการเกษตร
4.1 การขาดแคลนน้ําสําหรับอุปโภค-บริโภค ในฤดูแล้ง
4.2 ระบบประปาหมู่บ้าน และประปาส่วนภูมิภาคไม่เพียงพอ
4.3 การขาดแคลนน้ําเพื่อการเกษตรกรรม
5. ปัญหาขาดความรู้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
5.1 ปัญหาการขาดแหล่งข้อมูลข่าวสาร
5.2 การขาดโอกาสในการศึกษาทั้งในและนอกระบบ
6. ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
6.1 ปัญหาน้ำเสียจากการทําผ้ามัดย้อม
6.2 ขยะในชุมชนเริ่มเป็นปัญหาอันเนื่องมาจากไม่มีพื้นที่ในการกําจัดและทําลาย
6.3 ไม่มีสวนสาธารณะและสวนสุขภาพ
7. ปัญหาการบริหาร และการจัดการของเทศบาลตําบลแม่แรง
7.1 ผู้นําชุมชน ผู้นําท้องถิ่นมีความสามัคคีกันน้อย และขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ ตนเอง
7.2 บุคลากรภาคปฏิบัติมีไม่เพียงพอ
ความต้องการของประชาชน
1. ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 ขุดลอกคลอง สร้างสะพาน คสล. วางท่อระบายน้ํา
1.2 ติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะให้เพียงพอทุกหมู่บ้าน
1.3 ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะเพิ่มขึ้น
1.4 ปรับปรุงซ่อมแซมถนนลูกรัง หินคลุกและปรับผิวถนนลาดยาง
2. ความต้องการด้านการผลิต การตลาด รายได้และการมีงานทํา
2.1 จัดตั้งศูนย์ข้อมูลในการผลิตทางการเกษตร
2.2 ฝึกอบรมความรู้ด้านวิชาการ และการศึกษาดูงาน
2.3 สนับสนุนเงินทุนพร้อมอุปกรณ์
2.4 ให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ออกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
3. ความต้องการด้านสาธารณสุข
3.1 ฝึกอบรมให้ความรู้ทางโภชนาการอนามัยและเด็ก
3.2 ให้ความรู้ด้านสุขศึกษา
3.3 ให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กําจัดยุงและรณรงค์โรคพิษสุนัขบ้าและโรคเอดส์
3.4 ต้องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เด็ก สตรี และคนพิการ สงเคราะห์ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส
4. ความต้องการด้านน้ํากิน-น้ำใช้ เพื่อการเกษตร
4.1 ให้มีการขุดลอกคลองส่งน้ํา และกําจัดวัชพืช
4.2 ให้มีการขยายเขตประปาหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
4.3 ติดตั้งเครื่องสูบน้ําเพื่อการเกษตรกรรมให้เพียงพอ
5.ความต้องการความรู้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
5.1 ฝึกอบรมให้ความรู้ด้านอาชีพ มีศูนย์ข้อมูล ห้องสมุดประจําตําบลแม่แรง
5.2 ให้ความรู้ด้านการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ
5.3 ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ในตําบลแม่แรง
5.4 ฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. ความต้องการด้านทรัพยากรธรรมชาติ
6.1 จัดทําบ่อบําบัดน้ําเสียจากการทําผ้ามัดย้อม
6.2 ฝึกอบรมจัดตั้งเยาวชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.3 ขุดลอกที่ตื้นเขิน และกําจัดวัชพืช
6.4 จัดหาสถานที่ก่อสร้างสวนสุขภาพและสวนสาธารณะ
7. ความต้องการด้านการบริหาร และจัดการของเทศบาลตําบลแม่แรง
7.1 จัดประชุมประชาคมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรภาคประชาชน กลุ่มสตรี และกลุ่มอาสาอื่นๆ
7.2 จัดหาบุคลากรให้เพียงพอในการปฏิบัติงาน