![]() | 29 มิถุนายน 2562 |
![]() | หอไตรกลางน้ำโบราณตั้งอยู่ในวัดป่าเหียง บ้านกองงาม ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน ไปตามถนนสายสบทา-ท่าลี่ เลี้ยวขวาเข้าบ้านกองงามอยู่ใกล้กับโรงเรียนบ้านกองงาม ตามประวัติว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2420 มีหอไตรอายุกว่าร้อยปี เป็นโบราณสถานที่น่าสนใจและมีความสวยงามมาก หอไตรนี้สร้างไว้กลางสระ (ปัจจุบันเป็นสระคอนกรีต) เป็นศิลปกรรมแบบล้านนา สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรแล้ว 07 กันยายน 2561 |
![]() | ตั้งอยู่ ณ บ้านป่าแพ่ง กองงาม หมู่ที่ 1 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นสถานที่ได้รวบรวมอนุสรณ์สถานสี่ครูบา ได้แก่
ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของประชาชนในตำบลแม่แรง 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดแม่แรง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ 5 ไร่ 22 ตารางวา เสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูป 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดศรีมงคลต้นผึ้ง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดดอนตอง หมู่ที่ 4 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดหนองเงือกตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซางไปทางทิศใต้ ประมาณ ๔ กิโลเมตร ถนนเข้าสู่วัดอยู่ฝั่งตะวันตกของถนนสายป่าซาง-ลี้ ตามประวัติกล่าวว่า ในปี ๒๓๗๑ ได้มีชาวบ้าน หนองเงือกคนหนึ่งชื่อว่านายใจ มีความคิดที่จะสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้าน หนองเงือก เนื่องจากว่าในขณะนั้นหมู่บ้านนี้ ยังไมมีวัดเลย จึงปรึกษากับครูบาปารมี และได้นิมนต์ท่านครูบามาเป็นประธานในการสร้างวัด ในปี พ.ศ.๒๓๗๒ จึงแล้วเสร็จและตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านว่า วัดหนองเงือก โดยมีท่านครูบาปารมีเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก 07 กันยายน 2561 |
![]() | เป็นที่รวบรวมอนุรักษ์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีโบราณวัตถุ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษหรือบุคคลของชาวยอง สมัยโบราณแบ่งเป็น 3 หมวด คือ หมวดศาสนา หมวดวิถีชีวิตและกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายทอมือ และหมวดโบราณวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ เปิดให้ชมฟรีเวลา 09.00-17.00 น. ทุกวัน 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดนี้มีความสำคัญในฐานะที่มีโบราณสถาน ที่มีรูปแบบศิลปกรรมสวยงาม และมีสภาพที่สมบูรณ์ มากทีเดียวนั่นคือหอไตร ซุ้มประตูวัดดั้งเดิมและพระเจดีย์ หอไตรของวัดตั้งอยู่ทางด้านใต้เจดีย์เป็นหอไตรก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ตัวหอไตรสร้างเป็น ๒ ชั้นชั้นล่างเป็นห้องโล่งมีทางเข้าด้านเดียว ทางเข้านี้ทำเป็นซุ้มโค้งมีทั้งหมด ๕ ช่อง ช่องด้านซ้ายมือสุด เป็นผนังทึบมีรูปเทวดาปูนปั้น ๒ องค์ประดับ ผนังของหอไตรชั้นล่างทั้ง ๓ ด้านมี ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนประดับเอาไว้ ผนังด้านซ้ายมือภาพเลอะเลือนไปมาก ผนังในสุดซึ่งเป็นพื้นที่กว้างที่สุด แบ่งพื้นที่ ของภาพออกเป็น ๒ ส่วน ด้านซ้ายมือเขียนเป็นเรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนที่ ทรงนำพระอรหันต์ เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรม เทศนาโปรดพุทธมารดา ส่วนด้านขวามือนั้นเขียนเป็นภาพ เมืองบาดาลมีพระยานาคมารอรับเสด็จ พระพุทธองค์ ด้านขวาสุดเขียนเป็นภาพเจ้าวิธูรบัณฑิต นั่งอยู่ในปราสาท ด้านบนของผนังส่วนนี้ มีข้อความเขียนด้วยอักขระล้านนามีใจความว่า “ศักราชได้ ๑๒๗๙ ตัว ปีเมืองไส้ เดือน ๙ ลง ๑๕ ค่ำ เม็งวันเสาร์ ไทยกัดเป้า ยามกองแลงได้แต้มข่าวเนื่องพระพุทธเจ้าโผดสัตว์ ในชั้นฟ้า เมืองคน แลเมืองนาค ถวายค่านี้ ๔๐ แถบ รวมหมดเสี้ยง ๕๘ แล “ส่วนผังด้านขวามือนั้นเขียนเป็นเรื่องราวจากนิทานชาดกเรื่อง “พรหมจักรชาดก” ซึ่งเป็นนิทานพุทธศาสนาที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ลักษณะของภาพจิตกรรมฝาผนังในหอไตรวัดหนองเงือกนิ้เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบพม่าค่อนค้างมาก โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของคนในภาพ แต่คำอธิบายภาพทั้งหมดเขียนด้วยอักขระล้านนาทั้งสิ้น 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดดอนหลวง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 07 กันยายน 2561 |
![]() | ตั้งอยู่ในเขตบ้านป่าเบาะ หมู่ที่ 8 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โบราณสถานแห่งนี้ยังไม่ได้รับการขุดแต่งศึกษาทางโบราณคดี ปัจจุบันปรากฏหลักฐานเป็นกลุ่มโบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ วิหาร มีแนวกำแพงแก้วและกำแพงวัดล้อมรั้ว เจดีย์เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ยกเก็จซ้อนกัน 2 ชั้น ระหว่างฐานปัทม์แต่ละชั้นคั่นด้วยฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมเก็จ เหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียงในผังแปดเหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกันรองรับฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ในผังกลมซ้อนกัน 2 ชั้น เหนือขึ้นไปปรักหักพัง สันนิฐานว่าเป็นชุดฐานรองระฆังกลม ด้านตะวันออกของเจดีย์ มีฐานวิหารเตี้ยๆ ปูพื้นด้วยอิฐ ปัจจุบันปรากฏหลักฐานเพียงฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ารองรับฐานบัวคล่ำ บริเวณท้ายวิหารเป็นตำแหน่งของฐานชุกชีขนาดเล็ก จากรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์ที่ปรากฏในปัจจุบัน สันนิฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีอายุการสร้างและใช้งานอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดกอม่วง หมู่ที่ 8 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดดอนน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 07 กันยายน 2561 |
![]() | วัดป่าบุก หมู่ที่ 10 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 07 กันยายน 2561 |
![]() | อัฐิธาตุของ ครูบาศรี อริยวังโส อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบุก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2440 มีพรรษา 34 พรรษา ขณะที่มรภาพอายุได้ 54 ปี ปัจจุบันมีอายุ 11 ปี ผ่านมาแล้ว ท่านเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศเลื่อมใสศรัทธา เมื่อท่านได้มรณภาพไปแล้ว กระดูกของท่านกลายเป็นพระธาตุอัฐิสีใส และสีขาวขุ่นนับได้ 43 เม็ด ชาวบ้านจึงพากันนำมาเก็บไว้ ในกุฏิโดยการล้อมรั้วเหล็กทั้งหมด 7 ชั้น เก็บรักษาไว้อย่างดี ณ วัดป่าบุกแห่งนี้ 07 กันยายน 2561 |